ผู้เขียน หัวข้อ: ป้องกันเสียงรบกวนที่จะเข้ามาด้วย “ฉนวนกันเสียง”  (อ่าน 566 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 520
  • ลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาเสียงรบกวน เป็นสิ่งที่หลาย ๆ บ้านต้องพบเจอ มันรบกวนเวลาพักผ่อน หรือเวลาเราทำงานที่บ้าน แต่ในหลายครั้งต้นตอของเสียง เกิดจากสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็น เสียงจากรถที่ขับผ่านไปมา เสียงจากเพื่อนบ้าน และเสียงอื่น ๆ หากเราไม่สามารถที่จะทำให้เสียงเหล่านั้นหยุดได้ สิ่งที่เราสามารถทำได้ คือการป้องกัน หรือลดให้เสียงเหล่านั้นเข้ามาถึงหูเราได้น้อยที่สุด

สิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงดังรบกวนได้ ก็คือ การติดตั้งฉนวนกันเสียง ซึ่งไม่ใช่แค่ป้องกันเสียงจากภายนอก แต่ยังช่วยป้องกันเสียงจากภายใน ไม่ให้ออกไปรบกวนข้างนอกด้วยเช่นกัน ซึ่งมักถูกนำไปใช้สำหรับห้องซ้อมดนตรี โดยฉนวนกันเสียงนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เพื่อให้เลือกใช้ได้ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจกับฉนวนกันเสียง ทั้งคุณสมบัติ ประเภท และการติดตั้งใช้งาน


ฉนวนกันเสียง คืออะไร

ฉนวนกันเสียง เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งผลิตมาจากเส้นใยชนิดต่าง ๆ เช่น ใยหิน (Rockwool) และใยแก้ว (Fiberglass) ซึ่งมีคุณสมบัติเพื่อใช้ในการป้องกันเสียงจากทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันความร้อนได้อีกด้วย และไม่มีอันตราย หรือผลข้างเคียงอะไรต่อผู้ใช้

แผ่นฉนวนกันเสียง เป็นแผ่นฉนวนที่ใช้ในการกั้นเสียงไม่ให้ไหลผ่าน ด้วยการลดความเร็วของคลื่นเสียงเมื่อกระทบกับแผ่นกันเสียง เพื่อไม่ให้เสียงผ่านไปนอกห้องได้ แผ่นฉนวนกันเสียงจะมีลักษณะเป็นรูพรุน หรือ Open Cell ที่สามารถดูดซับเสียงได้อย่างมาก
ฉนวนกันเสียงมีคุณสมบัติอย่างไร


แผ่นฉนวนกันเสียงมีคุณสมบัติหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น

– สามารถดูดซับเสียง ไม่ให้เสียงจากภายนอกผ่านเข้ามาในห้อง และป้องกันไม่ให้เสียงจากในห้องทะลุออกมาภายนอก
– ช่วยลดเสียงสะท้อนในห้อง
– สามารถใช้ตกแต่งห้องตรงผนัง หรือเพดาน
– ช่วยกันความร้อน และลดอุณหภูมิในห้องได้
– น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว
– มีอายุการใช้งานที่นาน ไม่เปื่อยง่าย
– สามารถชะลอการลุกลามของไฟ ขณะเกิดเพลิงไหม้ได้


ประเภทของฉนวนกันเสียง

แผ่นฉนวนกันเสียงมีหลายรูปแบบ และจำแนกได้จากหลากหลายวัสดุ เช่น
– ประเภทเส้นใย (Fiber insulation) ซึ่งเราจะกล่าวถึงต่อไปข้างล่างนี้
– ประเภทที่ไม่ใช่เส้นใย (Non-fiber insulation) จะผลิตมาจากยางสังเคราะห์ (Synthetic rubber) หรือวัสดุจำพวก Thermoplastic เช่น แผ่นไวนิล แผ่นอะคริลิก เป็นต้น

โดยทีนี้เรามาดูกันว่า ฉนวนกันเสียง มีแบบไหนบ้าง

ฉนวนกันเสียงใยหินภูเขาไฟ

ฉนวนกันเสียงใยหินภูเขาไฟ เป็นฉนวนกันเสียงที่ทำมาจากหินภูเขาไฟซึ่งถูกแปรรูปให้เป็นแผ่นแบบแข็ง หรือ แบบม้วน โดยแผ่นฉนวนกันเสียงชนิดนี้ผลิตจากเส้นใยที่มีขนาดใหญ่มีปลายมน ซึ่งได้มาจากธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น หินปูน และหินบะซอลต์/หินโดโลไมต์ ที่ถูกนำไปหลอมในเตาเผา

จุดเด่น : น้ำหนักเบา หาซื้อได้ง่าย ช่วยป้องกันเสียงได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเสียงสูง หรือเสียงสะท้อน มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง

จุดด้อย : ไม่ควรโดนน้ำ หรือไอน้ำ เพราะจะทำให้คุณสมบัติในการซับเสียงลดลง

ประเภทของฉนวนกันเสียงฉนวนกันเสียงใยแก้ว

ฉนวนกันเสียงใยแก้วนั้นมีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบความหนาแน่นต่ำ และ แบบความหนาแน่นสูง

– ชนิดความหนาแน่นต่ำ สามารถหาซื้อได้ทั่วไป มีราคาไม่แพง ความสามารถในการกันเสียงอยู่ในระดับปานกลาง เพราะผลิตจากใยหินเส้นสั้นที่ใช้คุณสมบัติการยึดเกาะ มาทำให้ขึ้นรูป

– ชนิดความหนาแน่นสูง ไม่ค่อยนิยมใช้เท่าไรนัก เพราะหาซื้อได้ยาก หากจะใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น ฉนวนกันเสียงใยแก้วความหนาแน่นสูงนั้นผลิตจากเส้นใยแก้วขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับเสียงสูงมาก ทนความร้อนได้สูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส

จุดเด่น : น้ำหนักเบา หาซื้อง่าย แก้ปัญหาเสียงสูงหรือเสียงสะท้อนได้ดี
จุดด้อย : ไม่ควรโดนน้ำ หรือไอน้ำ เพราะจะทำให้คุณสมบัติในการซับเสียงลดลง


ฉนวนกันเสียงราคาเท่าไร

ราคาของฉนวนกันเสียงนั้น จะขึ้นกับวัสดุที่ใช้ ขนาด และประเภทของฉนวนกันเสียง ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวตัดสิน และคุณสมบัติของฉนวนกันเสียงนั้น ๆ ราคาของแผ่นฉนวนกันเสียงที่มีจำหน่ายในท้องตลาด จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 300-800 บาทต่อตารางเมตร

– ฉนวนกันเสียงใยหินร็อควูล ขนาด 50x400x1,200 มม. ราคาจะเริ่มตั้งแต่ 317-1,490 บาท โดยมีราคาแตกต่างกันไปตามขนาดของฉนวน และความหนา
– ฉนวนใยหินร็อกวูล 50x600x1,200 มม. รุ่น Pro330 40k ใช้สำหรับกันเสียงเพดาน/ผนัง ทนไฟ ราคา 476 บาท
– ฉนวนใยหินร็อกวูล 50x600x,200 มม. รุ่น Pro350 60k ใช้สำหรับกันเสียงได้เช่นกัน แต่เพิ่มประสิทธิภาพในการกันเสียงได้มากขึ้น และทนไฟได้ ราคา 950 บาท


วิธีใช้งานฉนวนกันเสียง

แผ่นฉนวนกันเสียง มีวิธีการใช้งานอยู่หลายประเภท ตัวแผ่นฉนวนนั้นมีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย สามารถใช้ติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ของตัวที่อยู่อาศัยได้ ไม่ว่าจะเป็น อาคาร บ้าน คอนโดฯ ห้องต่าง ๆ ฯลฯ


ขั้นตอนในการใช้งานฉนวนกันเสียง

1. คำนวณบริเวณที่ต้องการติดตั้งฉนวนกั้นเสียง เพื่อหาจำนวนแผ่นที่ต้องใช้
2. ทำความสะอาด ขจัดฝุ่นและคราบน้ำมันในบริเวณที่จะติดตั้ง
3. หลังจากเตรียมแผ่นฉนวนกันเสียงไว้แล้ว ก็ให้ทากาวที่ด้านหลังแผ่น ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที
4. ขณะเดียวกันก็ให้ทากาวที่ฝาผนังให้ทั่ว แล้วทิ้งให้แห้งหมาด ๆ ประมาณ 5-10 นาที
เพียงเท่านั้นฉนวนกันเสียงก็พร้อมใช้งานแล้ว


ซึ่งการใช้ฉนวนกันเสียง สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายระบบ โดยจะมีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

วิธีใช้งานฉนวนกันเสียง


ระบบผนังเบา

ปกติการสร้างผนังเบา ทำเพื่อแบ่งแยกพื้นที่เท่านั้น อย่างไรก็ตามผนังมีน้ำหนักเบาส่วนมากไม่สามารถกั้นเสียงได้ ดังนั้นช่วงที่มีการกั้นห้องด้วยผนังเบา สามารถใช้ฉนวนกันเสียงแบบเบาติดตั้งไว้ระหว่างช่องว่างของผนังเบา จะช่วยในการดูดซับเสียงไม่ให้ดังไปยังอีกห้องหนึ่ง พร้อมกันนี้ก็ยังช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากห้องอื่นได้เช่นกัน


ระบบผนัง cavity

ระบบผนัง cavity เป็นงานระบบที่ใส่แผ่นฉนวนกันเสียงไว้ตรงกลางโดยที่ด้านหนึ่งเป็นผนัง และในขั้นตอนการทำผนังกั้นห้อง สามารถติดตั้งแผ่นฉนวนกันเสียงกับระบบผนัง cavity จะช่วยทำให้โครงสร้างอาคารแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เป็นการการเว้นช่องว่างระหว่างผนังคอนกรีต และผนังอิฐฉาบปูน โดยจะมีแผ่นฉนวนกันเสียงอยู่ระหว่างทั้งสองข้างด้วยการใช้หมุดยึดฉนวนไว้


ระบบผนังคอนกรีต

ในการก่อสร้างห้องที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง เช่น โรงหนัง ห้องซ้อมดนตรี ควรจะมีวิธีการควบคุม และลดปริมาณเสียง ไม่ให้ไปรบกวนห้องข้าง ๆ โดยการใช้แผ่นฉนวนกันเสียงมาต่อเติมเพิ่มจากผนังคอนกรีตที่มีอยู่เดิม เพื่อจะได้ดูดซับเสียงไม่ให้ดังออกไปข้างนอก การติดตั้งนั้นก็เพียงใช้หมุดยึดตามแนวห่างระหว่าง 15-30 ซม. ที่กำหนดไว้โดยรอบ เสร็จแล้วให้หักปลายแหลมของหมุดเพื่อล็อกแหวนรองเข้ากับแผ่นฉนวน ก็เป็นอันจบขั้นตอน


ระบบฝ้า

การทำงานระบบฝ้านั้น จะเป็นงานส่วนบนของห้องซึ่งเน้นคุณสมบัติที่ป้องกันความร้อน ช่วยลดอุณหภูมิของห้อง และกั้นเสียงไม่ให้เข้ามารบกวนภายในห้อง ดังนั้นวิธีที่จะป้องกันไม่ให้เสียงรบกวนที่ผ่านมาจากด้านบนเข้าสู่ภายในตัวห้อง

ในช่วงที่กำลังทำระบบฝ้าเพดานโดยการสร้างโครง T-bar หรือ C-line ที่ยึดกับจุดรับน้ำหนักหลักของอาคาร ให้ใช้แผ่นฉนวนกันเสียงไปวางไว้ที่โครงของฝ้าเพดานก่อนที่จะปิดทับด้วยแผ่นยิปซั่ม แค่นี้ก็สามารถช่วยดูดซับเสียงภายในห้องไม่ให้ดังไปถึงชั้นบน และยังสามารถกันความร้อนจากภายนอกได้อีกด้วย


ป้องกันเสียงรบกวนที่จะเข้ามาด้วย “ฉนวนกันเสียง” อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/