ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: การตรวจสอบการแตกรั่วของระบบประปาในอาคาร  (อ่าน 337 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 520
  • ลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน
    • ดูรายละเอียด
การตรวจสอบการแตกรั่วของท่อและอุปกรณ์ประปาภายในอาคารทำได้ดังนี้

1.    ปิดก๊อกน้ำทุกจุดในอาคาร สังเกตดูหน้าปัดมาตรวัดน้ำ หากมีการเคลื่อนไหวของตัวเลขแสดงว่ามีการแตกรั่วของท่อและอุปกรณ์ เกิดขึ้น


2.    ตรวจดูก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า ทุกตัว หากพบว่า เมื่อปิด สนิทไม่มีการใช้น้ำแต่ยังมีน้ำรั่วซึมออกมา ให้รีบทำการซ่อมแซมทันที


3.    ใส่สารย้อมผ้าลงในถังพักน้ำของโถชักโครก แล้วสังเกตดู หากมีน้ำสีย้อมผ้าไหลลงโถชักโครก แสดงว่ามีปัญหาการรั่วไหลของ ตัวปิด-เปิดน้ำชักโครก ควรรีบทำการซ่อมแซมทันที 

หากพบว่ามีน้ำเปียกนองอยู่ตลอดเวลาที่พื้นข้างอาคาร หรือมีน้ำผุดให้เห็น แสดงว่ามีการแตกรั่ว ของท่อประปาในบริเวณนั้น

ข้อแนะนำที่จะให้ผู้ใช้น้ำสามารถตรวจสอบการแตกรั่วของระบบ ประปาในอาคารได้โดยสะดวก และสามารถเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้นหากมีการ รั่วไหล ก็คือ การวางท่อประปาและอุปกรณ์ประปาต่าง ๆ ไว้เหนือพื้นดิน ที่ไม่ให้น้ำท่วมถึงได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของอาคารสถานที่นั้นด้วย เท่ากับเป็นการประหยัดเงิน ไม่ปล่อยให้รั่วไหลไปตามน้ำ

วิธีการตรวจสอบท่อประปารั่วง่ายๆ ด้วยตัวเอง

เจ้า ของบ้านหลายท่านอาจเคยประสบปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับระบบประปาภายในบ้าน อย่างตัวเลขในมาตรวัดน้ำมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ปั๊มน้ำอัตโนมัติทำงาน แต่สูบน้ำไม่ขึ้นหรือไหลน้อย รวมทั้งปัญหาคุณภาพน้ำที่มีคราบสีแดงผิดปกติ ซึ่งอาจสันนิฐานได้คร่าวๆ ว่า ปัญหาเหล่านั้นเกิดจากสาเหตุ “ท่อน้ำประปารั่วซึม”

แล้วเราจะมีวิธีตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร? สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้หรือไม่? วันนี้ เรามีวิธีตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นมาฝากกัน


สำหรับปัญหาคุณภาพน้ำ และการแก้ไข

1. ท่อประปาเก่าเป็นสนิม
ท่อเหล็กอาบสังกะสีที่ใช้งานเป็นเวลานานเกินกว่า 5 ปี อาจเป็นสนิม ทำให้น้ำประปามีคราบแดง เนื่องจากมีตะกอน และสนิมปะปนอยู่ ดังนั้น หากพบว่า ท่อเก่าเป็นสนิมควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที

2. ท่อ / อุปกรณ์ประปาแตกรั่ว
หากพบว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นเล็กๆ น้อยๆ จากถังชักโครก หรือ ถังเก็บน้ำที่ลูกลอยชำรุด ทำให้เกิดปัญหาน้ำไหลทิ้งอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งปัญหาการรั่วไหลมากอันเกิดจากท่อแตกรั่วใต้ดินที่มองไม่เห็น ควรรีบซ่อมแซมอุปกรณ์เหล่านั้น ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เพราะนอกจากท่อและอุปกรณ์ที่รั่วจะทำให้น้ำสูญเสียไปเป็นจำนวนมากแล้ว ยังอาจเป็นเหตุให้สิ่งสกปรกเข้าไปในเส้นท่อได้

3. เครื่องสูบน้ำ
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่สูบโดยตรงจากเส้นท่อ อาจจะดูดสิ่งสกปรกจากบริเวณใกล้เคียง เช่น น้ำขุ่นจากท่อแตกรั่ว หรือ น้ำแดงจากท่อสนิมเข้ามาในระบบท่อประปาในอาคารได้ ดังนั้น ควรติดตั้งถังพักน้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้ก่อน แล้วจึงสูบจากถังพักน้ำนั้น จ่ายไปยังท่อประปาภายในอาคาร จะช่วยให้คุณได้ใช้น้ำที่สะอาดปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

4. เครื่องกรองน้ำ
เครื่องกรองน้ำที่ใช้งานมานานโดยไม่เคยล้าง หรือ ทำการเปลี่ยนไส้กรองเลย อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และแบคทีเรียได้ ควรทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนภายในครอบครัวครับ

5. ถังพักน้ำ / ถังเก็บน้ำ
ควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยทุก 6 เดือน หากไม่มี การล้างถังพักน้ำ/ถังเก็บน้ำเลย สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เล็ดรอดเข้าไป อาจจะเจริญเติบโตเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้น้ำประปาปนเปื้อนสิ่งสกปรกได้โดยไม่รู้ตัว


วิธีหาท่อประปารั่วง่ายๆ

1.ปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้าน (ยกเว้นประตูน้ำหน้ามาตรวัดน้ำ)

2.ตรวจสอบตัวเลขในมาตรวัดน้ำ โดยฟังเสียง และสังเกตดูการเคลื่อนไหวของตัวเลข หรือ ดอกจันสีแดงที่หน้าปัทม์มาตรวัดน้ำ

3.หากพบว่า ดอกจันหรือตัวเลขในมาตรวัดน้ำมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แสดงว่า มีท่อแตก-รั่ว หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่าง ก๊อกน้ำ ซีลยาง ลูกลอยในชักโครก หรือ บ่อพักน้ำชำรุด เป็นเหตุให้น้ำรั่วไหลอยู่ตลอดเวลา ควรรีบทำการตรวจหาสาเหตุ และให้ช่างผู้เชี่ยวชาญซ่อมแซมแก้ไขให้เร็วที่สุด

4.สำหรับบ้านที่ใช้เครื่องปั๊มน้ำ หากพบว่า เครื่องปั๊มน้ำทำงานเป็นระยะเมื่อไม่มีการใช้น้ำ ให้สันนิฐาษไว้ก่อนว่า อาจเกิดจากปัญหาการรั่วไหลของน้ำ แล้วีบตามช่างมาแก้ไขโดยด่วย เพราะนอกจากคุณจะสูญเสียน้ำประปาแล้ว ยังจะเสียค่าไฟฟ้ามากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

5. นอกจากการตรวจสอบท่อประปาภายในบ้านแล้ว คุณยังสามารถตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในเส้นท่อท่ีอยู่นอกบ้าน ด้วยการสังเกตที่พื้นดินบริเวณที่เดินท่อประปา ถ้าพื้นดินบริเวณนั้นทรุดตัวลงต่ำกว่าบริเวณอื่น หรือ มีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา อาจจะเกิดจากการแตกรั่ว หรือ ชำรุดของอุปกรณ์บางอย่างนั่นเองครับ


บริหารจัดการอาคาร: การตรวจสอบการแตกรั่วของระบบประปาในอาคาร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/