ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: วิธีกันเสียงดังจากข้างห้อง ฉบับทำได้ด้วยตัวเอง  (อ่าน 259 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 520
  • ลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน
    • ดูรายละเอียด
คอนโดถือเป็นตัวเลือกที่อยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมมากสำหรับการใช้ชีวิตในเมืองหลวง เพราะตัวโครงการตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพ และรายล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างรอบด้าน แต่การอยู่อาศัยประเภทคอนโดใช่ว่าจะลงตัวเสมอไป เนื่องจากเป็นรูปแบบของการอาศัยอยู่ร่วมกันหลายร้อยคน จึงอาจเกิดปัญหาจุกจิกกวนใจตามมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาเสียงดังรบกวนจากข้างห้อง ไม่ว่าจะเป็น เสียงการสังสรรค์ หรือเสียงทะเลาะกัน ที่สามารถส่งผลต่อการพักผ่อนได้ สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ข้างห้องเสียงดังทำไงดี? มาดูกันว่าวิธีกันเสียงจากข้างห้องจะต้องทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีคำตอบให้! 


วิธีกันเสียงดังจากข้างห้อง ฉบับทำได้ด้วยตัวเอง

หากคุณกำลังประสบปัญหาข้างห้องเสียงดัง แต่ไม่รู้จะทำยังไงดี ไอเทมที่จะเป็นตัวช่วยกันเสียงจากข้างห้องได้ มีดังนี้


1. ใช้ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง คือ แผ่นฉนวนที่ป้องกันเสียงไม่ให้ไหลผ่านออกไปด้านนอกของห้อง สำหรับชาวคอนโด การใช้ฉนวนกันเสียงเป็นวิธีกันเสียงจากข้างห้อง ส่วนใหญ่ติดในโซนนั่งเล่น บริเวณผนังฝั่งที่ติดกับห้องข้างๆ เพื่อป้องกันเสียงเข้ามารบกวน โดยนิยมใช้ฉนวนกันเสียง Acoustic Board ติดบนผนังเบา เนื่องจากช่วยกันเสียงได้ดีมาก ทั้งยังปลอดภัยต่อการใช้งาน

สำหรับฉนวนกันเสียงที่ไม่นิยมใช้ จะเป็นฉนวนกันเสียงแผ่นซับที่ทำจากขี้เลื่อย แม้จะป้องกันเสียงสะท้อนได้ดี และง่ายต่อการทำความสะอาด แต่จำเป็นต้องสั่งพิเศษและมีขั้นต่ำในการสั่งผลิต จึงนิยมใช้ในโรงแรมมากกว่าคอนโด

 
2. ติดฉากกั้นห้อง

การติดตั้งฉากกั้นห้องถือเป็นอีกวิธีกันเสียงจากข้างห้องได้ เนื่องจากช่วยลดเสียงได้ประมาณหนึ่ง และช่วยเสียงไม่ปะทะออกด้านนอกโดนตรงเช่น ทำให้เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้ รวมถึง ยังช่วยเพิ่มความเป็นสัดส่วนให้แก่ห้องอีกด้วย

ฉากกั้นจากกระจกค่อนข้างได้รับความนิยมในคอนโด โดยใช้กั้นระหว่างโซนนั่งเล่นกับโซนครัว เพราะการติดฉากกั้นกระจกจะไม่ทำให้ห้องดูอึดอัด ทั้งยังช่วยทำให้ห้องนั่งเล่นดูโปร่ง และช่วยลดกลิ่นฟุ้งกระจายที่เกิดจากการทำอาหารภายในห้องครัวอีกด้วย


3. เสริมที่กั้นประตูห้อง

การเสริมที่กั้นประตูห้อง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีกันเสียงจากข้างห้อง มีลักษณะเป็นแผ่นรองใต้ประตู มีกาวติดหน้าเดียว พื้นผิวเป็นเนื้อโฟมสังเคราะห์ กันน้ำได้ ไม่ขาดลุ่ยง่าย นอกจากจะติดตั้งง่ายและกันเสียงเล็ดลอดแล้ว ยังช่วยกันแมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ จากนอกห้องเข้ามากวนใจ หรือแม้กระทั้งช่วยกันแอร์ออกได้ รวมถึง กันบุคคลภายนอกมองลอดเข้ามา ส่วนใหญ่นิยมใช้กับประตูบานเดี่ยวและบานคู่ประเภทไม้อัด ไม้ลูกฟูก ไม้สัก ที่มีช่องห่างด้านล่างสูงกว่า 2 เซนติเมตร เพื่อทำให้ช่องว่างเล็กลง

 

4. ปูพรมบนพื้นห้อง

อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับวิธีกันเสียงจากข้างห้อง คือ การใช้พรมปูพื้น ซึ่งจะช่วยกันเสียงรบกวนที่มาจากห้องข้างล่างได้ เพราะพรมช่วยในการดูดซับเสียง รวมถึง ยังเป็นอีกไอเทมที่นิยมใช้เพื่อดูดซับเสียงจากภายในห้องเช่นกัน นิยมใช้ในห้องที่มีเครื่องเสียง โดยควรเลือกเลือกพรมไนลอนเพราะช่วยป้องกันน้ำ ลดรอยขีดข่วน ดูดเสียงได้ดี แถมยังมีหลากสีให้เลือกเข้ากับสีห้องนั้นๆ อีกด้วย


5. ติดผ้าม่านผืนหนา

นอกจากการติดม่านผืนหนาจะช่วยกันแสงแล้ว ยังเป็นวิธีกันเสียงจากข้างห้องอีกด้วย โดยม่านกันผ้าหนาจะมีคุณสมบัติช่วยลดความแรงของคลื่นเสียงได้บางส่วน  เหมาะกับติดตั้งบริเวณโซนห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น โดยสามารถติดตั้งได้ด้วยการเจาะรูผนัง และแขวนรางม่าน นำราวที่ร้อยม่านขึ้นบนรางม่าน ล็อกราวม่านให้แน่นเป็นอันเสร็จสมบูรณ์


6. ฟองน้ำบุผนังห้อง

ฟองน้ำบุผนังห้อง วัสดุตกแต่งที่ให้ความนุ่มนวลมีลักษณะเหมือนแผงกระดาษใส่ไข่ไก่ เนื้อวัสดุมีความปลอดภัยสูง ไม่ก่อให้เกิดการติดไฟง่าย ถือเป็นวิธีกันเสียงจากข้างห้องอีกวิธีหนึ่ง เพื่อช่วยลดการได้ยินเสียงจากนอกห้องได้ รวมถึง ยังช่วยดูดซับเสียงภายในห้อง และกันเสียงสะท้อน ส่วนใหญ่นิยมติดตามผนังห้อง


7. กั้นห้องด้วยเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่

อีกหนึ่งวิธีกันเสียงจากข้างห้องที่หลายคนอาจนึกไม่ถึง คือ การใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ เช่น ตู้เสื้อผ้า หรือชั้นวางหนังสือ โดยวางติดผนังห้องที่เชื่อมกับห้องข้างๆ จะช่วยลดทอนความดังของเสียงรบกวนจากด้านนอกได้ รวมถึง หากใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์จากไม้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับเสียงได้ โดยหากเป็นชั้นวางหนังสือ การเพิ่มหนังสือเข้าไป โดยเฉพาะหนังสือเล่มหนาและมีขนาดใหญ่ ก็มีส่วนช่วยกันเสียงเช่นกัน

นอกจากนี้ วิธีดังกล่าวยังช่วยในการประหยัดงบอีกด้วย เพราะคุณสามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ จากเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ได้เช่นกัน เช่น ใช้เป็นที่เก็บของให้เป็นระเบียบ เป็นต้น
เสียงดังจากข้างห้องที่ลอดเข้ามาเกิดจากอะไรได้บ้าง


นอกจากกิจกรรมที่ก่อให้เสียงดัง เช่น การสังสรรค์ หรือการทะเลาะกันแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เสียงจากภายนอกเล็ดลอดเข้ามาภายในห้องของเราได้ ซึ่งมีดังนี้

 
ประตูห้อง

ประตูห้องถือว่าเป็นสิ่งของที่เกิดเสียงได้ง่าย การเลือกวัสดุประตูก็มีผลต่ออายุการใช้งานเช่นกัน หากเป็นประตูที่ติดตั้งด้านนอก ควรเลือกประตูที่ทำจากไม้สัก และควรหลีกเลี่ยงประตูที่ทำจากไม้เต็ง เพราะเมื่อติดตั้งภายนอก ใช้งานนานไปจะทำให้เนื้อไม้เกิดการพองตัว บิด และมีเสียง นอกจากนี้ ประตูห้องบางแห่งมีการออกแบบแล้วเกิดช่องว่างด้านล่าง จึงทำให้มีเสียงลอด และอาจมีสัตว์เล็กเข้ามาได้ เช่น แมลงสาบ เป็นต้น

 

ผนังและพื้นห้อง

ผนังและพื้นห้องเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสียงเล็ดลอดเข้ามาภายในห้องได้ กล่าวคือ การใช้วัสดุบางอย่างที่ใช้ทำผนังหรือพื้นห้องนั้น หากมีความหนาแน่นน้อยจะทำให้เสียงเล็ดลอดเข้ามาได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดเสียงดังตามมา เช่น ห้องที่ใช้ผนังเบาหรือยิปซัมที่มีความหนาเพียง 9-12 มม. ซึ่งจะมีค่า STC (Sound Transmission Class) หรือกันเสียงน้อยกว่าแบบหนา

 

การวางปลั๊กไฟ

สำหรับห้องภายในโครงการคอนโดที่ใช้ผนังร่วมกันและมีปลั๊กไฟอยู่ตำแหน่งเดียวกัน แน่นอนว่าเป็นจุดที่ทำให้เสียงเล็ดลอดผ่านไปหากันได้ผ่านการเจาะรู มีวิธีแก้ไขปัญหา คือ เลิกใช้ปลั๊กไฟบริเวณนั้นและหาที่ครอบไว้ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ผู้อยู่อาศัยหาจุกมาครอบปิดเพื่อกันเสียงเมื่อเลิกใช้งาน วิธีเหล่านี้นอกจากจะช่วยกันเสียงแล้ว ยังช่วยกันฝุ่นกันแมลงอีกด้วย

 

ช่องว่างผนังที่เกิดจากความเสียหายหรือรอยร้าว

สาเหตุของรอยราวจากผนังส่วนใหญ่จะมาจากอายุขัยของผนัง เมื่อเวลาผ่านไปนานรอยราวบริเวณจะตามมาเป็นเรื่องปกติของโครงสร้าง วิธีแก้ไขง่ายๆ คือทาปูนปิดรอยราวนั้น และท่าสีใหม่ทับ หากเสียงไม่หายลองปกปิดรอยร้าวด้วยการติดวอลเปเปอร์เพิ่ม วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดปัญหาเสียงดังทะลุผ่าน ปัจจุบันวอลเปเปอร์มีหลายสีให้เลือกตามไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ติดง่ายเพียงลอกแถบสติ๊กเกอร์ออกพร้อมใช้ง่ายได้ทันที แต่ราคาค่อนข้างสูง และวิธีสุดท้ายคือการติดแผ่น Acoustic Board แผ่นช่วยกันเสียง ดูดซับเสียง เป็นวิธีกันเสียงดังจากข้างห้องได้ดีมากๆ ติดตั้งง่าย เพียงใช้กาวตะปูติดกับตัวแผ่นเข้ากับผนังเป็นเสร็จเรียบร้อย



ฉนวนกันเสียง: วิธีกันเสียงดังจากข้างห้อง ฉบับทำได้ด้วยตัวเอง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/