ผู้เขียน หัวข้อ: "โรคหัวใจ" สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีรักษาป้องกัน  (อ่าน 320 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 520
  • ลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน
    • ดูรายละเอียด
"โรคหัวใจ" สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีรักษาป้องกัน   

ปัจจัยเสี่ยง ของอาการโรคหัวใจ

    อายุขึ้นเลข 4 วัย 40 เป็นวัยที่ต้องระวังสุขภาพอย่างมาก (แต่ปัจจุบันพบว่าอัตราการเป็นโรคหัวใจพบมากขึ้นในคนอายุ 30-40 ปี)
    พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติครอบครัว พ่อหรือแม่เป็นโรคหัวใจ จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
    เพศ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่ออาการโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง
    สูบบุหรี่
    ไขมันในเลือดสูง มีความเสี่ยงกับการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่มีไขมันในเลือดปกติหรือต่ำกว่าหลายเท่า เพราะไขมัน คือ ตัวการสำคัญที่จะไปจับตามผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดอุดตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
    เบาหวาน น้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติและเป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการควบคุมให้ดีพอ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ไม่แข็งแรง และเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้
    ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะคนที่มีความดันโลหิตสูงใช่ว่าจะทำให้เลือดมีแรงดันที่จะไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีกว่าคนที่ความดันโลหิตปกติ ตรงกันข้ามกลับทำให้หลอดเลือดเกิดการหดเกร็งตัว และทำให้หัวใจขาดเลือดได้อีกเหมือนกัน


สัญญาณเตือน อาการโรคหัวใจ
     
เหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หรือเดินเร็วๆ หายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย หรือใช้แรงมาก หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน อาการโรคหัวใจจะเจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก หรือด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก เป็นลมหมดสติไม่ทราบสาเหตุ ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ


วิธีตรวจให้รู้ว่าคุณเป็นโรคหัวใจ หรือไม่

    แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติ อาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่พึงสงสัย รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของคนไข้
    แพทย์จะทำการตรวจร่างกายทั้งตัว ทุกระบบของร่างกาย รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยฟังการเต้นของหัวใจ วัดความดันโลหิต
    ตรวจด้วยการเอกซเรย์ทรวงอก และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กไปวางตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ หน้าอก แขน และขา จากนั้นกราฟจะแสดงคลื่นไฟฟ้าเพื่อให้แพทย์อ่านผลและวินิจฉัยระดับความรุนแรงของโรคต่อไป และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) คือการให้ผู้ป่วยเดิน หรือวิ่งบนสายพาน เพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และดูการการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมในการวิ่งสายพาน จะเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) เพื่อดูกายวิภาคของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจ การเคลื่อนที่และการบีบตัว วิธีนี้สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจได้เกือบทุกประเภท
    การตรวจหัวใจ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Coronary Artery) เป็นการตรวจเพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบจากการมีไขมันไปเกาะหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถควบคุมและรักษาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจให้ผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ สามารถใช้ในการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจอีกด้วย
    หากเกิดข้อสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ การตรวจที่จะบอกได้แน่ชัด คือการตรวจฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ หรือที่เรียกว่าการสวนหลอดเลือดหัวใจ