ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: วิธีการเลือกใช้เครื่องมือดับเพลิงในการดับไฟแต่ละประเภท  (อ่าน 138 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 520
  • ลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน
    • ดูรายละเอียด
เครื่องมือดับเพลิงเบื้องต้น
 
การดับเพลิงขั้นต้น หรือ การดับเพลิงเริ่มเกิด หมายถึง วิธีการที่จะใช้เครื่องมือที่สามารถใช้กำลังด้วยคนเพียงคนเดียวหรือสองคน เพื่อดับเพลิงเสียแต่ในโอกาสแรกที่เริ่มเกิดขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพในการดับจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ใช้ไปถึงจุดที่เกิดเพลิงไหม้และใช้เครื่องมือดับเพลิงให้ตรงกับประเภทของไฟที่เกิดลุกไหม้ขึ้นด้วย


เครื่องมือดับเพลิงเบื้องต้นแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้

1.   เครื่องมือดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
2.  เครื่องมือดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (DRYCHEMICAL POWDER)
3.  เครื่องมือดับเพลิงชนิดฟองเคมี (CHEMICAL FOAM)
4.  เครื่องมือดับเพลิงชนิด ฟองกลอัดลม
5.  เครื่องมือดับเพลิงชนิด พลั่ว ทรายดับเพลิง
6.  เครื่องมือดับเพลิงชนิด ถังดับเพลิง
7.  เครื่องมือดับเพลิงชนิด ผ้าดับไฟ


เครื่องมือดับเพลิง คาร์บอนไดออกไซด์ CO2

CARBON DIOXIDE EXTINGUISHER
คุณสมบัติและลักษณะของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ช่วยในการลุกไหม้ เป็นสารไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ และไม่ช่วยในการดำรงชีพ ถ้าผสมอยู่ในอากาศเกิน 4 % โดยปริมาตร อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ หนักกว่าอากาศ 1.5 เท่า ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เมื่อก๊าซถูกปล่อยออกมาจากขวดจะขยายตัวได้ 450 เท่า/ปริมาตร ก๊าซ CO2 สามารถดับไฟได้ผลประมาณ 19 – 29 % เมื่อฉีด CO2 ออกมาแล้ว จะไม่เหลือกากไว้ ไม่ทำให้เกิดเป็นสนิม ไม่ทำอันตรายแก่เครื่องมือเครื่องใช้ ฉีดออกมาจะมีอุณหภูมิ – 110 องศา ฟ. สามารถเก็บได้นาน ไม่เสื่อมสภาพ


การดับไฟ

1.  ใช้ดับไฟเบื้องต้นสำหรับไฟที่เกิดกับวัตถุเชื้อเพลิงทุกประเภท
2.  เหมาะสำหรับดับไฟที่เกิดกับไฟประเภท ค. โดยเฉพาะ
3.  ประสิทธิภาพในการดับไฟ ใช้ดับไฟประเภท ข. และ ค. ได้ผลในขอบเขตของไฟในพื้นที่ 48 ตารางฟุต (CO2 ขนาดบรรจุ 15 ปอนด์)
4.  ได้ผลในทางคลุมไฟ จำกัดออกซิเจน และลดอุณหภูมิ


ส่วนประกอบของขวด CO2

ก.       ขวด CO2
1.  เป็นรูปทรงกระบอกไม่มีตะเข็บทำด้วยเหล็กหรือโลหะผสม เพื่อป้องกันการแตกกระจายหรือรั่วซึมตามรอยตะเข็บ ทาด้วยสีแดง เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย
2.  ขนาดความจุ มีหลายขนาดตามมาตรฐาน คือ 5 ปอนด์, 15 ปอนด์, และ 50 –70 ปอนด์ สามารถทนกำลังดันได้ ไม่ต่ำกว่า 300 ปอนด์/ตรน. โดยจะมี CO2 ถูกอัดเป็นของเหลวอยู่ภาย 2-ใน 3-ของขวดหรือประมาณ 60 – 65 % ส่วนที่เหลือเป็นแก๊ส

 
ข. หลอดไซฟอน
เป็นหลอดโลหะทองเหลือง ยาวจากคอขวดถึงก้นขวด โดยห่างจากก้นขวดประมาณ 1 นิ้ว เป็นทางนำแก๊ส CO2 ออกจากขวดเมื่อบีบคันปล่อย

 
ค. ลิ้นเปิด – ปิด หรือลิ้นปล่อยแก๊ส
เป็นส่วนประกอบรวมเป็นชุดเดียวกัน คือ
1. เป็นแบบคนบีบกด ชนิดลิ้นนอน (Push valve) ปกติลิ้นนี้จะปิดอยู่ด้วยกำลังสปริง คันบีบกดที่จับเคลื่อนที่ด้วย
2.  คอของชุดเปิดเป็นแบบเกลียวละเอียดแบบมาตรฐาน
3.  แผ่นกั้นอันตราย (Safety disc) เป็นแผ่นทองแดงสำหรับป้องกันท่อแตก ทนกำลังดันได้ 2650 – 3000 ปอนด์/ตรน.
4.  สายฉีดทำด้วยยางทนกำลังดันเป็นท่อแบบท่ออ่อน ทนกำลังดันได้ไม่ต่ำกว่า 1250 ปอนด์/ตรน. กระบอกฉีดทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า ซึ่งมี 2 แบบคือ แบบแบน และแบบกลม ส่วนมากทำด้วยพลาสติก หรือ ไฟเบอร์

 
ง.  สลักนิรภัย
เป็นตัวลอดไม่ให้ลิ้นเปิดเอง
 
 
จ. ห่วงยึด (D – ring) สำหรับปิดลิ้น CO2 และใช้เป็นที่เปิด CO2 เมื่อไม่สามารถอยู่ในบริเวณที่เกิดไฟไหม้ได้


ข้อควรระวัง

1.  ฟองหิมะของ CO2 เป็นอันตรายต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังพองได้จากอุณหภูมิที่เย็นจัด
2.  อย่าให้แก๊ส CO2 เข้าตา – จมูก
3.  อย่าใช้ CO2 ดับไฟที่เกิดกับน้ำมัน หรือจาระบี เพราะอาจจะทำให้เกิดระเบิดได้


บริหารจัดการอาคาร: วิธีการเลือกใช้เครื่องมือดับเพลิงในการดับไฟแต่ละประเภท อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/